วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2552

หนังสือราชการภายใน

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายความหมายของหนังสือราชการภายในได้
2. อธิบายส่วนประกอบของหนังสือราชการภายในได้

3. สามารถพิมพ์รูปแบบหนังสือราชการภายในได้

การพิมพ์หนังสือราชการภายใน
หนังสือราชการภายใน คือ หนังสือที่ติดต่อภายในกระทรวง ทบวง กรม หรือจังหวัดเดียวกัน ใช้กระดาษบันทึกข้อความ (ใช้แบบมีเส้นบรรทัดหรือแบบไม่มีเส้นบรรทัด) โดยมี รายละเอียดดังนี้
1. ส่วนราชการ ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของหนังสือหรือหน่วยงานที่ออกหนังสือ โดยมี รายละเอียดพอสมควร เช่น ฝ่ายส่งเสริมการศึกษา เป็นต้น
2. ที่ ให้ลงเลขรหัสตัวพยัญชนะและเลขประจำของเจ้าของเรื่องทับเลขทะเบียนหนังสือส่ง เช่น ที่ ศธ 0908.03/213
3. วัน เดือน ปี ให้ลงตัวเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือน และตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออกหนังสือ เช่น 20 มีนาคม 2547 การพิมพ์วัน เดือน ปี ของหนังสือราชการภายในจะพิมพ์เป็นตัวย่อได้ เช่น 20 มี.ค. 47
4. เรื่อง ให้ลงชื่อเรื่องย่อที่เป็นใจความสั้นที่สุดของหนังสือฉบับนั้น ในกรณีที่เป็นหนังสือต่อเนื่องโดยปกติให้ลงเรื่องของหนังสือฉบับเดิม
5. คำขึ้นต้น ใช้ตามฐานะของผู้รับหนังสือ นิยมใช้คำว่า “เรียน”
6. ข้อความ ให้ลงสาระสำคัญของเรื่องให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย หากมีความประสงค์หลายประการให้แยกเป็นข้อ ๆ ในกรณีที่มีการอ้างถึงหนังสือที่เคยมีติดต่อกันหรือมีสิ่งที่ส่งมาด้วยให้ระบุไว้ในข้อนี้
7. ลงชื่อและตำแหน่ง ให้เว้น 2 บรรทัดจากบรรทัดสุดท้ายของข้อความ เริ่มต้นพิมพ์จาก กึ่งกลางหน้ากระดาษ พิมพ์ชื่อและนามสกุลไว้ในวงเล็บ สำหรับตำแหน่งขึ้นบรรทัดใหม่ 1 ระยะบรรทัดและพิมพ์วางศูนย์กับชื่อและนามสกุลที่อยู่ในวงเล็บนั้น



Download :
หนังสือราชการภายใน.ppt

ตัวอย่างขออนุญาตให้สมัครสอบ.doc

ใบงานที่ 2 หนังสือราชการภายใน.doc

4 ความคิดเห็น:

  1. เอ้2/7/52 02:43

    ขอบคุณคะ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ18/7/55 20:52

    ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ27/5/56 20:54

    ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ7/7/56 22:26

    ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ