วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2552

คู่มือการใช้งาน

สามารถ Download คู่มือการใช้งานได้จาก link นี้


คู่มือการใช้งาน.doc

วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2552

หนังสือประชาสัมพันธ์

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายความหมาของหนังสือประชาสัมพันธ์ได้
2. สามารถอธิบายหนังสือประชาสัมพันธ์ประเภทต่าง ๆ ได้
3. บอกส่วนประกอบของหนังสือประชาสัมพันธ์ได้สามารถพิมพ์รูปแบบหนังสือประชาสัมพันธ์ได้

หนังสือประชาสัมพันธ์
หนังสือประชาสัมพันธ์ ให้ใช้ตามแบบที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ เว้นแต่จะมีกฎหมายกำหนดแบบไว้โดยเฉพาะ

หนังสือประชาสัมพันธ์มี 3 ชนิด ได้แก่ ประกาศ แถลงการณ์ และข่าว

ข้อ 1 ประกาศ

คือ บรรดาข้อความที่ทางราชการประกาศหรือชี้แจงให้ทราบ หรือแนะแนวทางปฏิบัติ ใช้กระดาษตราครุฑ และให้จัดทำตามแบบที่ 7 ท้ายระเบียบ โดยกรอกรายละเอียดดังนี้
1.1 ประกาศ ให้ลงชื่อส่วนราชการที่ออกประกาศ
1.2 เรื่อง ให้ลงชื่อเรื่องที่ประกาศ
1.3 ข้อความ ให้อ้างเหตุผลที่ต้องออกประกาศและข้อความที่ประกาศ
1.4 ประกาศ ณ วันที่ ให้ลงตัวเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือนและตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออกประกาศ
1.5 ลงชื่อ ให้ลงลายมือชื่อออกประกาศ และพิมพ์ชื่อเต็มของเจ้าของลายมือชื่อไว้ใต้ลายมือชื่อ
1.6 ตำแหน่ง ให้ลงตำแหน่งของผู้ออกประกาศ ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้ทำเป็นแจ้งความ ให้เปลี่ยนคำว่าประกาศ เป็นแจ้งความ

ข้อ 2 แถลงการณ์
คือ บรรดาข้อความที่ทางราชการแถลงเพื่อทำความเข้าใจในกิจการของทางราชการหรือเหตุการณ์ หรือกรณีใด ๆ ให้ทราบชัดเจนโดยทั่วกันใช้กระดาษตราครุฑและให้จัดทำตามแบบที่ 8 ท้ายระเบียบ โดยกรอกรายละเอียดดังนี้
2.1 แถลงการณ์ ให้ลงชื่อส่วนราชการที่ออกแถลงการณ์
2.2 เรื่อง ให้ลงชื่อเรื่องที่ออกแถลงการณ์
2.3 ฉบับที่ ใช้ในกรณีที่จะต้องออกแถลงการณ์หลายฉบับในเรื่องเดียวที่ต่อเนื่องกันให้ลงฉบับที่เรียงตามลำดับไว้ด้วย
2.4 ข้อความ ให้อ้างเหตุผลที่ต้องออกแถลงการณ์และข้อความที่แถลงการณ์
2.5 ส่วนราชการที่ออกแถลงการณ์ ให้ลงชื่อส่วนราชการที่ออกแถลงการณ์
2.6 วัน เดือน ปี ให้ลงตัวเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือน และตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออกแถลงการณ์

ข้อ 3 ข่าว

คือ บรรดาข้อความที่ทางราชการเห็นสมควรเผยแพร่ให้ทราบ ให้จัดทำตามแบบที่ 9 ท้ายระเบียบโดยกรอก รายละเอียดดังนี้

3.1 ข่าว ให้ลงชื่อส่วนราชการที่ออกข่าว
3.2 เรื่อง ให้ลงชื่อเรื่องที่ออกข่าว
3.3 ฉบับที่ ใช้ในกรณีที่จะต้องออกข่าวหลายฉบับในเรื่องเดียวที่ต่อเนื่องกัน ให้ลงฉบับที่เรียงตามลำดับไว้ด้วย
3.4 ข้อความ ให้ลงรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องของข่าว
3.5 ส่วนราชการที่ออกข่าว ให้ลงชื่อส่วนราชการที่ออกข่าว
3.6 วัน เดือน ปี ให้ลงตัวเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือน และตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออกข่าว

ประกาศ คือบรรดาข้อความที่ทางราชการประกาศหรือชี้แจงให้ทราบ หรือแนะแนวทางปฏิบัติ ใช้กระดาษครุฑ ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้ทำเป็นแจ้งความ ให้เปลี่ยนคำว่าประกาศ เป็นแจ้งความ

แถลงการณ์ คือ บรรดาข้อความที่ทางราชการแถลงเพื่อทำความเข้าใจในกิจการของราชการ หรือเหตุการณ์ หรือ กรณีใด ๆ ให้ทราบชัดเจนโดยทั่วกัน ใช้กระดาษครุฑ

ข่าว คือ บรรดาข้อความที่ทางราชการเห็นควรเผยแพร่ให้ทราบ

Download :
click ขวา save target as

หนังสือประชาสัมพันธ์.ppt

ตัวอย่าง ข่าวประชาสัมพันธ์.doc

ตัวอย่าง แถลงการณ์.doc

ตัวอย่าง ประกาศ.pdf

ใบงานที่ 5 หนังสือประชาสัมพันธ์.doc

จดหมายเวียน

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. สามารถอธิบายความหมายของจดหมายเวียนได้
2. สามารถจัดทำจดหมายเวียนด้วยโปรแกรม Microsoft Office Word 2003 ได้
3. สามารถพิมพ์ซองจดหมายด้วยโปรแกรม Microsoft Office Word 2003 ได้


จดหมายเวียน
คือ จดหมายทีมีข้อความเติมซ้ำๆ กันทุกๆ ฉบับจดหมายแต่ละฉบับแตกต่างเฉพาะบางส่วนของจดหมาย เท่านั้น ตัวอย่างจดหมายประเภทนี้ ได้แก่ จดหมายเชิญตัวแทนจำหน่ายสินค้ามาประชุมที่สำนักงานใหญ่ จดหมายนี้จะมีข้อความ เชื้อเชิญมาประชุมเหมือนกันทุกฉบับ แต่ละฉบับจะแตกต่างกันเพียงชื่อและ ที่อยู่เท่านั้น ลองคำนวณดูว่าถ้าคุณมีตัวแทน 300 คน คุณต้องแก้จดหมายในที่เดิมๆ มากมายเพียงใด

การใช้ Microsoft Word ปัญหาการทำงานที่ซ้ำซ้อนดังกล่าวอาจทำได้ง่ายขึ้น โดยคุณสร้างจดหมายที่มีข้อความจะใช้ ร่วมกัน ไว้ก่อน จากนั้นก็กำหนดให้ Word ใส่ข้อความที่แตกต่างกันนั้นโดยอัตโนมัติ วิธีดังกล่าวมีขั้นตอนดังนี้

เริ่มแรกด้วยการสร้างเนื้อความในจดหมาย

ขั้นตอนแรกของการทำจดหมายเวียน ก็คือ การจัดทำตัวจดหมายที่มีข้อความที่จะใช่ร่วมกัน เราเรียกจดหมายนี้ว่า เอกสารหลัก โดยคุณต้องเว้นที่ว่างไว้สำหรับใส่ชื่อ ที่อยู่ หรือข้อมูลอื่นๆ ที่จำเป็นของผู้รับ ต่อจากนั้นก็ให้ Save จดหมายนี้เก็บไว้เพื่อไว้ใช้ใน คราวต่อๆ ไปสร้างตารางข้อมูลของผู้รับจดหมาย

การสร้างตารางข้อมูลของผู้รับจดหมาย
ขั้นตอนที่สองที่คุณต้องทำก็คือ การเก็บข้อมูลต่างๆ ของผู้รับจดหมาย เช่น ชื่อ ที่อยู่ ตำแหน่ง บริษัท ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้ จะถูกเก็บในลักษณะ เป็นแบบฐานข้อมูลที่เราเรียกว่า แหล่งเก็บข้อมูล คือ คุณสามารถดึงข้อมูลมาใช้ได้ทุกเมื่อตามต้องการ

วิธีการสร้างตารางเพื่อเก็บข้อมูลต่างๆ ทำได้ดังนี้
1 เลือกคำสั่ง เครื่องมือ => จดหมายเวียน จะปรากฎ กรอบโต้ตอบตัวช่วยเหลือจดหมายเวียน
2 คลิกเมาส์ สร้าง => จากจดหมาย
3 คลิกเมาส์ ที่ปุ่ม หน้าต่างที่ใช้งานอยู่ เพื่อกำหนดว่าจะสร้างจดหมายเวียนจากจดหมายฉบับที่คุณกำลังเปิดอยู่นี้
4 คลิกเมาส์ ที่ปุ่ม รับข้อมูล => สร้างแหล่งข้อมูล จะปรากฎกรอบโต้ตอบขึ้นมา
5 เลือกหัวข้อเขตข้อมูล ที่จะใช้ในตารางข้อมูล โดยดูหัวข้อรายการจาก ชื่อเขตข้อมูลในบรรทัดนำ โดยสามารถกำหนดดังนี้
- ถ้าหัวข้อใดไม่ต้องการ ให้ คลิกเมาส์ เลือกหัวข้อนั้น แล้วคลิกเมาส์ ที่ปุ่ม เอาชื่อเขตข้อมูลออก
- ถ้าต้องการเพิ่มหัวข้อลงในรายการ ให้กรอกหัวข้อใหม่ในกรอบชื่อเขตข้อมูล : จากนั้นใหคลิกเมาส์ ที่ปุ่ม เพิ่มชื่อเขตข้อมูล
6 เมื่อทำการกำหนดเรียบร้อยให้คลิกเมาส์ ที่ปุ่ม ตกลง
7 ตั้งชื่อไฟล์และกำหนดตำแหน่งสำหรับ save ตารางฐานข้อมูล
8 คลิกเมาส์ ที่ปุ่ม save ก็จะปรากฎกรอบโต้ตอบ
9 คลิกเมาส์ ที่ปุ่ม แก้ไขแหล่งข้อมูล ก็จะปรากฎรูปแบบการกรอกข้อมูลขึ้นมาเพื่อจะใส่ข้อมูลของผู้รับจดหมาย ในตารางฐานข้อมูล

การรวมจดหมายเวียนเข้ากับข้อมูลสามารถทำใหม่ได้ทุกครั้งที่ต้องการ ถ้ามีแฟ้มจดหมายและแฟ้มข้อมูลที่เคยสร้างด้วยโปรแกรม จดหมายเวียนอยู่แล้ว เพียงแต่เปิดแฟ้มจดหมาย ก็จะสามารถทำการรวมจดหมายในขั้นตอน ใส่เขตข้อมูลได้เลย

การพิมพ์ข้อมูลเพิ่มในแฟ้มข้อมูล สามารถทำได้ดังนี้
1. เปิดแฟ้มเอกสารหรือแฟ้มจดหมาย
2. คลิกคำสั่ง เครื่องมือ => จดหมายเวียน
3. คลิกคำสั่ง รับข้อมูล => เปิดแหล่งข้อมูล
4. เลือกแฟ้มข้อมูลที่ต้องการ
5. คลิกคำสั่ง แก้ไข
6. คลิกชื่อแฟ้มที่ปรากฎ จะปรากฎกรอบโต้ตอบ ฟอร์ม ว่างขึ้นมาให้ทำการพิมพ์ข้อมุลเพิ่ม แต่ถ้าต้องการแก้ไขข้อมูลที่มีอยู่แล้วเดิมให้คลิกปุ่มลูกศรถอยหลัง หรือเดิมหน้าทีละระเบียน หรือเดิมหน้าไปยังระเบียนแรกของแฟ้ม หรือถอยหลังไปยังระเบียนสุดท้ายของแฟ้ม
7. คลิก คำสั่ง OK

กำหนดตำแหน่งที่จะใส่ข้อมูลในจดหมาย
1 คลิกเมาส์ ในตำแหน่งที่จะใส่ข้อมูลในจดหมาย
2 คลิกเมาส์ ที่ปุ่ม แทรกเขตข้อมูลผสาน จะปรากฎหัวข้อที่กำหนดได้ในตารางฐานข้อมูล
3 คลิกเมาส์ เลือกหัวข้อ คือ จะเป็นการแทรกชื่อ หรือข้อมูลต่างๆที่เราจะเลือกใส่ จะปรากฎหัวข้อที่คุณเลือกในจดหมาย
4 ทำข้อ 2 และ 3 ซ้ำไปเรื่อยๆ จนกว่าคุณจะกำหนดหัวข้อ ที่ต้องการเรียบร้อย

ใส่ข้อมูลของผู้รับในจดหมาย
เมื่อผลลัพธ์ที่ได้ถูกต้องเป็นที่น่าพอใจแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะกำหนดสิ่งต่างๆ ลงในจดหมายเวียนของคุณ โดยคุณสามารถเลือกว่า จะให้เก็บผลลัพธ์ที่ได้นั้นใส่ลงในเอกสารฉบับใหม่ หรือกำหนดให้พิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์เลยทันที ส่วนตัวแล้วมักจะใช้วิธีแรก มากกว่า คือ จะเก็บผลลัพธ์ไว้ เพราะสามารถแก้ไขในรายละเอียดบางจุดของจดหมายในแต่ละฉบับได้

การผลิตจดหมายเวียน ทำได้ดังนี้
1 คลิกเมาส์ ที่ปุ่ม จะปรากฎกรอบโต้ตอบ การผสาน
2 กำหนดว่าจะให้เก็บผลลัพธ์ของจดหมายเวียนนี้ไปไว้ที่ใด โดยคลิกเมาส์ ที่ New document (สร้างเอกสาร)
- ถ้าเลือก New document คือการเก็บที่เอกสารฉบับใหม่
- ถ้าเลือก Printer คือการสั่งพิมพ์ผลลัพธ์ออกทางเครื่องพิมพ์ทันที
3 เลือกว่าจะให้ดึงข้อมูลจากตารางฐานข้อมูลใดบ้าง ดังนี้
- คลิกเมาส์ เลือก all (ทั้งหมด) คือจะดึงข้อมูลจากตารางฐานข้อมูลมาทั้งหมด
- คลิกเมาส์ เลือก from (จาก) คือ คุณจะเป็นผู้กำหนดช่วงของการดึงข้อมูล จากนั้นคุณต้องกำหนดว่าจะดึงข้อมูลลำดับที่
เท่าใดในฐานข้อมูลด้วย
4 คลิกเมาส ที่ปุ่ม ผสาน (ถ้าคุณเลือก New document คุณจะเห็นผลลัพธ์ที่ได้ในเอกสารฉบับใหม่ทันที) ก็จะได้ผลลัพธ์ก็คือ เห็นข้อมูลของผู้รับจดหมายทั้งหมดที่จะส่งออกทางจอของคุณ

Download :
click ขวา save target as

การสร้างจดหมายเวียน.ppt

ใบงานที่ 12 จดหมายเวียน.doc

แผ่นพับและบัตรอวยพร

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. สามารถอธิบายความหมายของแผ่นพับได้
2. สามารถอธิบายวิธีการออกแบบแผ่นพับได้
3. สามารถจัดทำแผ่นพับด้วยโปรแกรม Microsoft Office Word 2003

4. สามารถจัดทำบัตรอวยพรด้วยโปรแกรม Microsoft Office Word 2003 ได้

แผ่นพับ
เป็นเอกสารที่จัดทำขึ้นเพื่อจุดประสงค์ในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูล เผยแพร่ผลงานของ สินค้า ผลิตภัณฑ์ บุคคล และหน่วยงานต่าง ๆ พบเห็นได้ตามแหล่งชุมชนทั่วไป

วิธีการทำแผ่นพับ (Brocheur)
มีขั้นตอนดังนี้

1. ในการสร้างแผ่นพับ (Brocheur) เราจะต้องกำหนดขนาดของกระดาษ โดยการไปเลือกแถบด้านบนโดยไปที่แฟ้ม แล้วคลิกเลือกตั้งค่าหน้ากระดาษ
2. กำหนดขนาดกระดาษให้เป็นแนวนอนหรือแนวตั้งแล้วแต่ว่าเราจะออกแบบแผ่นพับให้เป็นแบบตามที่ต้องการ
3. ทำการแบ่งคอลัมน์ตามที่ต้องการโดยเลือกแถบรูปแบบ แล้วเลือกคอลัมน์
4. ทำการกำหนดค่าคอลัมน์ตามที่ต้องการ
5. สังเกตุว่าในการทำแผ่นพับหน้าแรกของแผ่นพับจะอยู่ด้านขวาและหน้าสุดท้ายของแผ่นพับจะอยู่ตรงกลาง
6. เนื้อเรื่องด้านในแผ่นพับจะเรียงจากซ้ายไปขวาปกติ สังเกตได้ตามตัวอย่าง

ตัวอย่าง

บัตรอวยพร
ในการแสดงความคิดความรู้สึกต่างๆ แก่ผู้อื่น เราสามารถทำได้หลายวิธี และวิธีหนึ่งที่ประหยัด แต่สร้างความประทับใจให้กับผู้รับ เราสามารถทำได้โดยใช้ บัตรอวยพร เนื่องจากเราสามารถ จัดสร้างเองได้ง่าย ๆ โดยสร้างได้หลายวิธีและวิธีหนึ่งที่เราสามารถสร้างได้ง่าย ๆ คือการ ใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย
ขั้นตอนการจัดพิมพ์บัตรอวยพรมีขั้นตอนการทำ ดังต่อไปนี้
1. คลิกปุ่ม (กล่องข้อความ) บนแถบเครื่องมือรูปวาด
2. คลิกเมาส์ ไปยังตำแหน่งที่ต้องการวางกล่องข้อความ คลิกเมาส์ทางซ้ายค้างไว้ วาดกล่องข้อความตามความต้องการ
3. คลิกเมาส์ขวาที่เส้นขอบกล่องข้อความ คลิกเลือก จัดรูปแบบกล่องข้อความ
4. คลิกแท็บ ขนาด
5. กำหนดขนาดกล่องข้อความ ดังนี้
- ความสูง พิมพ์ 8.65 เซนติเมตร
- ความกว้าง พิมพ์ 13.65 เซนติเมตร
6. คลิกแท็บ สีและเส้น
7. คลิกเลือกสีเส้นขอบ > ลักษณะ > เส้นประ >น้ำหนัก ตามต้องการในที่นี้คลิกเลือกสีกุหลาบ >41/2pt >ทึบ >4.5 พ.7. คลิกปุ่ม ตกลง
8. วาดกล่องข้อความด้านในกล่องแรก โดยปฏิบัติตามขั้นตอนที่ 1 – 4
9. กำหนดขนาดกล่องข้อความที่ 2 ดังนี้- ความสูง พิมพ์ 5 เซนติเมตร- ความกว้าง พิมพ์ 10.45 เซนติเมตร
10. คลิกแท็บ สีและเส้น
11. คลิกเลือกสีเติม ตามต้องการ ในที่นี้คลิกเลือก สีเติม>ใส่ลักษณะพิเศษ> ลวดลาย>ลายแผ่นไม้มุงหลังคา>พื้นหน้า สีเขียวอมฟ้าอ่อน>พื้นหลังสีขาว>
12. คลิกเลือกสีเส้นขอบ > ลักษณะ > เส้นประ > น้ำหนัก ตามต้องการ ในที่นี้คลิกเลือก สีชมพู > 1 พ. > เส้นประยาวและจุด
> 1 พ.
13. คลิกปุ่มตกลง
14. คลิกในกล่องข้อความ พิมพ์ข้อความตามแบบที่กำหนด- แบบอักษร KodchiangUPC- สีแบบอักษร น้ำเงิน- ขนาดแบบอักษร 18- ลักษณะแบบอักษร ตัวหนา- การจัดวางอักษร จัดกึ่งกลาง

Download :
click ขวา save target as

การพิมพ์แผ่นพับ.ppt

ใบงานที่ 11 การพิมพ์แผ่นพับและบัตรอวยพร.doc

ตัวอย่าง แผ่นพับ.doc

แผ่นป้ายโฆษณา

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. สามารถอธิบายความหมายและลักษณะที่ดีของแผ่นป้ายโฆษณาได้
2. สามารถอธิบายข้อดี-ข้อเสียของแผ่นป้ายโฆษณาได้
3. สามารถอธิบายการออกแบบโครงร่างและหลักการออกแบบแผ่นป้ายโฆษณาได้

4. สามารถอธิบายการออกแบบโครงร่างและหลักการออกแบบแผ่นป้ายโฆษณาได้
5. สามารถอธิบายการกำหนดตัวอักษรในแผ่นป้ายโฆษณาได้
6. สามารถการจัดทำแผ่นป้ายโฆษณาด้วยโปรแกรม Microsoft Word 2003 ได้


แผ่นป้ายโฆษณาหรือโปสเตอร์แผ่นป้ายโฆษณา หรือ โปสเตอร์ (poster)
เป็นสื่อที่มีบทบาทอย่างมากในการประชาสัมพันธ์เพราะสื่อประเภทนี้สามารถเผยแพร่ได้สะดวกและกว้างขวาง สามาระเข้าถึงกลุ่มบุคคลได้ทุกเพศทุกวัย ทุกระดับการศึกษา มีความยืดหยุ่นในตัวสื่อได้เป็นอย่างดี ในการออกแบบสามารถสร้างรูปภาพประกอบ ตลอดจนแนวทางการออกแบบกราฟิกได้อย่างอิสระและสวยงามลักษณะของแผ่นป้ายโฆษณาจะสามารถนำเสนอข้อมูลรายละเอียดได้มากพอสมควร ผลิตง่าย ใช้สะดวก จึงเป็นที่นิยมตลอดมา
ในเบื้องต้นมีการกำหนดลักษณะกว้าง ๆ ของการออกแบบแผ่นป้ายโฆษณาว่า จะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ส่วนด้วยกันคือ
1. ต้องเป็นแผ่นเดียวสามารถปะติดลงบนผิวใดก็ได้
2. ต้องมีข้อความประกอบเสมอ
3. ต้องปิดไว้ในที่สาธารณะ
4. ต้องผลิตขึ้นจำนวนมากได้

แผ่นป้ายโฆษณาหรือโปสเตอร์ที่ดี
ควรจะสนองแนวคิดหลัก 5 ประการได้แก่
1. จะต้องตอบสนองจุดประสงค์ในการสื่อความหมายได้อย่างเต็มที่
2. จะต้องมีความชัดเจนในภาพลักษณ์ และข้อความที่ใช้ในการสื่อความหมายและจะต้องมีความกระจ่าง มีขนาดที่พอเหมาะกัน
3. รูปภาพและข้อความที่นำเสนอควรมีความสอดคล้องสัมพันธ์ส่งเสริมกัน
4. จะต้องมีความเข้าใจ ดึงดูดความสนใจกลุ่มเป้าหมายได้ดีที่สุด
5. ต้องมีความกระทัดรัดกลายเป็นจุดสนใจ และจุดเด่นที่ควรจดจำ

ข้อดีของแผ่นป้ายโฆษณาหรือโปสเตอร์
1. ให้ความครอบคลุมพื้นที่สูง เลือกติดตั้งเฉพาะแหล่งชุมชนได้
2. ให้ความถี่ในการเห็นบ่อย เพราะจุดติดตั้งจะเป็นเส้นทางหรือชุมชน
3. สามารถดึงดูดความสนใจได้มาก
4. ไม่มีความจำกัดในเรื่องของเวลาในการนำเสนอข้อมูล
5. ข้อความที่กะทัดรัดกลายเป็นจุดสนใจ จุดเด่นที่ควรจดจำ

ข้อด้อยของแผ่นป้ายโฆษณาหรือโปสเตอร์
1. การนำเสนอข้อมูลมีความจำกัดสูง ทำให้ขาดรายละเอียดเมื่อเทียบกับสื่ออื่น ๆ
2. กรณีที่มีการติดตั้งในตำแหน่งที่ไม่ดี ย่อมได้รับความสนใจน้อย
3. ต้องมีความประณีตในการจัดทำสูง เสียค่าใช้จ่ายมาก
4. บางครั้งทำให้เสียบรรยากาศสภาพแวดล้อม หรือเป็นอัตรายในกรณีที่สภาพดินฟ้าอากาศแปรปรวน


Download :
click ขวา save target as

ใบงานที่ 10 การพิมพ์แผ่นป้ายโฆษณา.doc

ตัวอย่าง ป้ายโฆษณา.doc

นามบัตร

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. การออกแบบโครงร่างของนามบัตร
2. การจัดทำนามบัตรด้วยโปรแกรม Microsoft Word 2003
3. การเปลี่ยนทิศของข้อความในกล่องข้อความ

4. การใส่ภาพตัดปะ (Clip Art)

นามบัตร (Name Card) เป็นสิ่งพิมพ์ที่มีขนาดเล็ก ใช้แสดงข้อมูลส่วนตัวเพื่อประโยชน์ในการติดต่อสื่อสารกันทางธุรกิจ
นามบัตรมีความสำคัญต่อกิจการมาก ก่อนอื่นเราต้องแยกประเภทของนามบัตรก่อนเช่น นามบัตรส่วนตัว กลุ่มที่ใช้ มักจะเป็นข้าราชการ ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทฯต่างๆโดยมากจะใส่โลโก้ขององค์กรตนที่สังกัด ชื่อและตำแหน่งนามบัตรกิจการ คือตัวแทนของกิจการต่างๆ จำเป็นต้องทำให้มีความโดดเด่นเพื่อง่ายต่อการค้นหา และจดจำ จึงจำเป็นต้องออกแบบให้สวยงามและใส่ตัวอย่างสินค้าบางตัวให้สังเกตได้แม้กระทั่งแค่มองก็รู้เลยว่าเป็นนามบัตรของใคร ซึ่งถ้ามองอีกมุมหนึ่งก็เหมือนกับเป็นสื่อโฆษณาที่อยู่ในรูปแบบของนามบัตร

ทำนามบัตร Microsoft Word

1. เริ่มด้วยเปิดซอฟต์แวร์ Microsoft Word ขึ้นมาก่อน จากนั้นเราต้องปรับระยะ ขอบทุกๆ ด้านก่อน แนะนำให้ปรับเป็นขนาด 1 นิ้วทุกๆ ด้าน หรือประมาณ 0.5 นิ้วก็ได้ หากคุณต้องการสร้างนามบัตรที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อให้มีพื้นที่เพียงพอสำหรับวางนามบัตรที่เราจะสร้างกัน
รูปที่ 1


2. ต่อไปเราจะใช้ Textbox หรือชื่อภาษาไทยว่ากล่องข้อความ ในการสร้างนามบัตรครั้งนี้ ให้คลิ้กที่เมนู Insert เลือก Text box เลือกแบบ Horizontal ซึ่งจะเป็นกล่องข้อความแบบแนวนอน
รูปที่ 2



3. เมื่อเราเลือกแล้วจะปรากฏกล่องข้อความขึ้นมา อย่าเพิ่งไปใส่ข้อความ หรือภาพนะค่ะ ให้ ปรับขนาดก่อน โดยคลิ้กขวาที่ขอบของกล่องข้อความ แล้วเลือก Format Text Box
รูปที่ 3



4. จะปรากฏหน้าต่าง Format Text Box ขึ้นมาให้เราเลือกไปที่หน้าการปรับ Size ให้ใส่ขนาด Height เป็น 2 นิ้ว และ Width เป็น 3.5 นิ้ว ซึ่งขนาดนี้เป็นขนาดมาตรฐานของนามบัตรทั่วๆ ไป ใครอยาก ได้รูปแบบแปลกไม่เหมือนใคร ก็สามารถเลือกปรับขนาดของกล่องข้อความได้จากหน้าต่างนี้
รูปที่ 4


5. เมื่อเราปรับขนาดเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถพิมพ์ข้อความเข้าไปด้านใน หรือว่าจะแทรกรูป ภาพก็ได้ วิธีการก็เหมือนกับการพิมพ์ข้อความปกติในหน้าเอกสาร เราสามารถจัดแต่ง ใส่พื้นหลัง หรือว่าเคลื่อนย้ายภาพ หรือข้อความได้ตามปกติ
รูปที่ 5



6. ต่อไปเราจะก๊อบปี้กล่องข้อความอันแรก เพื่อสร้างกล่องข้อความอื่นๆ จะได้ไม่ต้องมานั่งทำให้ เสียเวลาทีละอัน ให้คลิ้กขวาที่กล่องข้อความ แล้วเลือกก๊อบปี้ค่ะ
รูปที่ 6



7. เมื่อก๊อบปี้แล้วก็ให้ทำการวางลงไป (Paste) จะปรากฏกล่องข้อความซ้อนกัน เราสามารถย้ายได้ ให้ย้ายมาวางด้านข้าง ให้พอดี หากไม่พอดีก็สามารถเลื่อนกล่องข้อความอันแรกได้
รูปที่ 7


8. หลังจากก๊อบปี้จากนั้นให้นำมาวางลงไป (Paste) แล้ว เราต้องจัดการวางกล่องข้อ ความให้ครบเต็มหน้ากระดาษ A4 ซึ่งเราสามารถก๊อบปี้กล่องข้อความครั้งละ 2 หรือมากกว่านั้นได้ จะได้ช่วยประหยัดเวลา วิธีการก็เพียงกด Shift ค้างไว้ แล้วเอาเมาส์ไปคลิ้กกล่องข้อความที่ 2 หรืออื่นๆ จากนั้นก็ก๊อบปี้แล้วก็วางลงไป (Paste) ปกติ
รูปที่ 8


9. จากนั้นก็วางให้เต็มหน้า ซึ่งใน 1 หน้ากระดาษ A4 จะสามารถวางนามบัตรขนาด 3.5 x 2 นิ้วได้จำนวน 10 ใบค่ะ ต่อไปก็สามารถสั่งพิมพ์ได้ทันที ง่ายๆ แบบนี้ แถมยังไม่ต้องอาศัยซอฟต์แวร์ตัวอื่นๆ ด้วย
รูปที่ 9



Download :
click ขวา save target as

การพิมพ์นามบัตร.ppt

ใบงานที่ 9 การพิมพ์นามบัตร.doc

ตัวอย่าง นามบัตร.doc

วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2552

การพิมพ์งานด้วยตาราง

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายความหมายของตารางได้
2. สามารถอธิบายคุณสมบัติที่อยู่ในเมนูตารางได้

3. เข้าใจและเรียกใช้คำสั่งเมนูตารางได้

การสร้างตารางในโปรแกรม Microsoft Word ทำได้ดังนี้

ขั้นที่ 1. เปิดโปรแกรม Word













ขั้นที่ 2. จากเมนู ตาราง(Table) เลือกคำสั่ง แทรกตาราง (lnsert Table)








ขั้นที่ 3. ในส่วนของจำนวนสดมภ์ (Number of Columns) ใส่จำนวนคอลัมน์ที่ต้องการในส่วนของจำนวนแถว (Number of Rows ) ใส่จำนวนแถวที่ต้องการในส่วนของความกว้างของสดมภ์ (Column Width) กำหนดขนาดคอลัมน์ หากเลือก อัตโนมัติ (Auto)โปรแกรมจะปรับขนาดคอลัมน์ตามขนาดของข้อมูลเลือกตกลง













หรือ เลือกตัวบอกตำแหน่งการพิมพ์ไปยังตำแหน่งที่ต้องการจะสร้างตารางเลือกไอคอน (ที่วงสีเขียวไว้) บน Standard toolbarลากเมาส์เพื่อกำหนดจำนวนแถวและคอลัมน์












ขั้นที่ 4. การพิ่มแถวต่อท้ายตาราง

1. วางตัวบอกตำแหน่งการพิมพ์ ไว้ในเซลล์สุดท้ายของแถวสุดท้ายของตาราง

2. กดปุ่ม Tab ( ในคีย์บอด )









ขั้นที่ 6 การเพิ่มคอลัมน์ต่อท้ายตาราง1. เลือกเครื่องหมายจบแถว ที่อยูด้านขวาของตาราง โดยเลื่อนเมาส์ไปเหนือเครื่องหมายจบแถวอันบนสุดตัวชี้ของเมาส์ จะเป็นรูปลูกศรลงแล้วคลิก (ในวงกลมสีเหลือง)2. จากเมนู ตาราง ( Table ) เลือกคำสั่ง แทรกสดมภ์ ( lnsert Columns)





ขั้นที่ 7 การแทรกเซลล์

1. เลือกเซลล์ที่ต้องการจะแทรก ตามจำนวนเซลล์ที่ต้องการ

2. จากเมนู ตาราง (Table) เลือกคำสั่ง แทรกเซลล์ (lnsert Cells) หรือ เลือกไอคอน จาก Standard toolbar

3. เลือกลักษณะการแทรกเซลล์

4. เลือก ตกลง (OK)


ขันที่ 8 การลบแถวหรือสดมน์1.เลือกแถวหรือคอลัมน์ที่ต้องการจะลบ2.จากเมนูตาราง (Table) เลือกคำสั่ง ลบแถว (Delete Rows) หรือ ลบสดมภ์ (Delete Columns )- จากเมนู แก้ไข (Edit ) เลือกคำสั่ง ตัด (Cut) .....


ขั้นที่ 9 การแสดงหรือซ่อนเส้นตาราง- จากเมนูตาราง เลือกคำสั่ง ซ่อนเส้นตาราง- หากต้องการแสดงเส้นตารางอีกครั้งจากเมนู ตาราง เลือกคำสั่ง แสดงตาราง



ขั้นที่ 10 การคำนวนในตาราง1.วางตัวบอกตำแหน่งการพิมพ์ในเซลล์ที่จะแสดงผลการคำนวน2. จากเมนู ตาราง เลือกคำสั่ง สูตร3. เลือก ตกลง (OK)


ขั้นที่ 11 การแยกตาราง1. วางตัวบอกตำแหน่งการพิมพ์ ไว้ในแถวใต้แถวที่ต้องการจะแยก2. จากเมนู ตาราง เลือกคำสั่ง แยกตาราง หรือ กดปุ่ม Ctrl+Shift+Enter- หากต้องการรวมตารางกลับเป็นหนึ่งเช่นเดิม1. วางตัวบอกตำแหน่งการพิมพ์ในแถวที่อยู่ระหว่างตารางทั้งสอง2. กดปุ่ม Del

ขั้นที่ 12 การวาดตารางขึ้นเอง- จากเมนูตาราง เลือกคำสั่ง วาดตาราง (Draw Table)จะแสดงแถบเครื่องมืตารางและเส้นขอบที่มีเครื่องมือช่วยในการวาดตารางพร้อมทั้งคำแนะนำในการวาด
ขั้นที่ 13 การลบเส้นตาราง1. คลิกที่ไอคอน บน Tables and Borders toolbar2.ลากให้คลุมเส้นที่จะลบ3. ปล่อยปุ่มเมาส์

Download :
click ขวา save target as

การสร้างตาราง.ppt

ใบงานที่ 8 การสร้างตาราง.doc

หนังสือธุรกิจ

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายความหมายของหนังสือธุรกิจได้
2. สามารถอธิบายหนังสือธุรกิจประเภทต่าง ๆ ได้
3. บอกส่วนประกอบของหนังสือธุรกิจได้สามารถพิมพ์รูปแบบหนังสือธุรกิจได้


การเขียนจดหมาย เป็นวิธีการที่สำคัญมากวิธีหนึ่ง เพราะจดหมายสามารถสื่อความได้ละเอียด กว้างขวางและประหยัดค่าใช้จ่าย

หลักทั่วไปในการเขียนจดหมาย
๑. เขียนให้ถูกรูปแบบตามประเภทของจดหมายแต่ละชนิด

๒. ใช้คำขึ้นต้น คำลงท้าย สรรพนาม ให้เหมาะสมกับฐานะและความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้เขียนจดหมายกับผู้รับ
๓. เขียนยศ ตำแหน่ง ของผู้รับหรือบุคคลที่กล่าวถึงให้ถูกต้อง
๔. เนื้อหาเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดต้องเขียนให้รัดกุม ชัดเจน นำหลักการเขียนที่ดีมาใช้ เรียบเรียงเนื้อความแต่ละย่อหน้า
๕. เขียนสะกดคำและใช้ถ้อยคำสำนวนถูกต้อง
๖. รักษาความสะอาดเรียบร้อย
๗. ใช้กระดาษและซองสีสุภาพ
๘. จ่าหน้าซองให้สมบูรณ์ชัดเจน ปิดไปรษณียากรตามระเบียบของไปรษณีย์

จดหมายธุรกิจ
คือ จดหมายที่เขียนติดต่อกันเพื่อจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งในการประกอบธุรกิจ เช่น เสนอขายสินค้าและบริการ สั่งซื้อสินค้า ติดตามหนี้ ร้องเรียนเกี่ยวกับข้อผิดพลาดของสินค้าเป็นต้น ซึ่งมีรูปแบบการใช้ภาษาในระดับเป็นทางการหรือค่อนข้างเป็นทางการ ไม่ใช้ภาษาปาก หรือภาษาพูด

ความสำคัญของจดหมายธุรกิจ
๑. ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย เพราะไม่ต้องเดินทางไปติดต่อด้วยตนเอง
๒. สะดวกและรวดเร็ว
๓. ให้รายละเอียดของข้อมูลได้มาก ชัดเจนและมีระบบ
๔. ใช้เป็นหลักฐานในการอ้างอิง ค้นเรื่องและเป็นหลักฐานทางกฎหมายได้เป็นอย่างดี
๕. ส่งเสริมให้มีความสัมพันธ์ที่ดีในการติดต่อสื่อสารเพื่อธุรกิจ ทั้งด้านการสร้างความสัมพันธ์ และการแจ้งข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นและทันสมัย

ประเภทของจดหมายธุรกิจ
จดหมายธุรกิจสามารถแบ่งออกตามจุดประสงค์ของการเขียน ได้ ๒ ประเภท ดังนี้
๑. ประเภทให้ข้อมูลข่าวสารแก่ผู้อ่านเกี่ยวกับเรื่องธุรกิจ เหมาะสำหรับการนำเสนอข้อมูลที่สั้น กระชับและตรงประเด็น ได้แก่ จดหมายสอบถามและจดหมายตอบสอบถาม จดหมายสั่งซื้อและจดหมายตอบการสั่งซื้อ จดหมายร้องเรียนและจดหมายตอบการร้องเรียน จดหมายแจ้งการขอเปิดบัญชี จดหมายเชิญ จดหมายขอบคุณ เป็นต้น
๒. ประเภทโน้มน้าวใจ มีจุดประสงค์เพื่อโน้มน้าวใจผู้อ่านให้เกิดความรู้สึกคล้อยตาม จดหมายประเภทนี้ ได้แก่ จดหมายเสนอขาย จดหมายติดตามหนี้ จดหมายแนะนำบุคคล เป็นต้น

โครงสร้างของจดหมายธุรกิจ
จดหมายธุรกิจโดยทั่วไปประกอบด้วยโครงสร้าง ๓ ส่วน ดังนี้
๑. ส่วนต้น คือ ส่วนที่ระบุเหตุผลในการเขียนจดหมาย หรืออ้างอิงจดหมายที่เคยเขียนติดต่อกันมา เพื่อทำความเข้าใจกับผู้อ่าน อันจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาของจดหมายได้ง่ายขึ้น
๒. ส่วนกลาง คือ ส่วนที่เป็นรายละเอียดต่างๆ ที่จำเป็นและสำคัญ หรือวัตถุประสงค์ของการมีจดหมายมาถึงผู้อ่าน ตลอดจนเอกสารต่างๆ ที่แนบมาด้วย
๓. ส่วนท้าย คือ ส่วนที่เป็นข้อความลงท้ายจดหมายหรือสรุปจุดประสงค์ เช่น การกำหนดเวลา การกระทำที่ผู้อ่านต้องปฏิบัติ การแสดงไมตรีจิต ข้อมูลที่ช่วยส่งเสริมการขาย โดยจะต้องสรุปให้ชัดเจน มีเหตุผลและส่งให้เกิดผลดีในทางปฏิบัติ ทั้งยังต้องยุติธรรมกับทั้งสองฝ่าย
รูปแบบของจดหมายธุรกิจ

จดหมายธุรกิจโดยทั่วไป มีส่วนประกอบที่ต้องเขียนตามรูปแบบของจดหมาย ดังนี้
๑. ที่อยู่ผู้ส่ง เป็นการระบุชื่อและที่ตั้งของบริษัท ห้างร้าน หรือกิจการของเจ้าของจดหมาย เพื่อบอกให้ผู้อ่านทราบว่าจดหมายมาจากที่ใด
๒. เลขที่จดหมาย/ปี พ.ศ. คือ การระบุเลขที่จดหมายและปีพุทธศักราชที่จัดทำจดหมายฉบับดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บเอกสารและอ้างอิงต่อไป (อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้)
๓. วัน เดือน ปี หมายถึง วันที่ เดือนและปีที่เขียนจดหมาย เพื่อเป็นข้อมูลในการอ้างอิง หรือการติดต่อกันในโอกาสต่อๆ ไป โดยต้องเขียนเฉพาะตัวเลข วันที่ ชื่อเต็มของเดือนและตัวเลขของปีพุทธศักราช
๔. ที่อยู่ผู้รับ คือ การระบุชื่อ ตำแหน่งและที่อยู่ผู้รับ รวมถึงรหัสไปรษณีย์ เพื่อประโยชน์ในการเก็บจดหมายไว้เป็นหลักฐาน อย่างไรก็ตาม การระบุที่อยู่ผู้รับนั้นก็ขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้เขียนจดหมายเอง ซึ่งอาจระบุหรือไม่ก็ได้
๕. เรื่อง คือ สาระสำคัญสั้นๆ ของจดหมายฉบับนั้น เป็นส่วนให้ข้อมูลแก่ผู้รับ ก่อนที่จะอ่านเนื้อความในจดหมาย เพื่อให้พอทราบว่าจดหมายฉบับนั้นมีจุดประสงค์อย่างไร ควรมีความยาวประมาณ ๐.๕ - ๑ บรรทัด อาจถึง ๒ บรรทัด ก็ได้
๖. คำขึ้นต้น คือ การทักทายที่เป็นการเริ่มต้นจดหมาย นิยมใช้คำว่า “เรียน” แล้วตามด้วยตำแหน่ง หรือชื่อของบุคคลที่เขียนถึง
๗. สิ่งที่ส่งมาด้วย เป็นรายละเอียดเพิ่มเติมที่ส่งไปพร้อมกับจดหมาย (อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้)
๘. เนื้อหาหรือใจความ หมายถึง ส่วนที่เสนอเนื้อหา หรือสาระสำคัญของจดหมายที่เขียนอาจมากกว่าหนึ่งย่อหน้าก็ได้
๙. คำลงท้าย คือ การอำลาผู้อ่าน โดยทั่วไปนิยมใช้ “ขอแสดงความนับถือ” ทั้งนี้ต้องใช้ ให้สอดคล้องกับคำขึ้นต้น และถูกต้องตามระดับตำแหน่งของบุคคล
๑๐. ลายมือชื่อ คือ การลงลายมือชื่อของเจ้าของจดหมาย
๑๑. ชื่อเต็ม คือ ชื่อเต็มของเจ้าของลายมือชื่อ ได้แก่ ชื่อ นามสกุล และคำนำหน้าบอกสถานภาพ ตลอดจนตำแหน่ง โดยพิมพ์ไว้ใต้ลายมือชื่อภายในวงเล็บ

ข้อควรปฏิบัติในการพิมพ์จดหมายธุรกิจ

การพิมพ์จดหมายธุรกิจควรปฏิบัติดังนี้
๑. ใช้กระดาษอย่างดีสีขาว ขนาด ๘.๕ x ๑๑ นิ้ว หรือกระดาษมาตรฐาน เอ ๔
๒. ใช้กระดาษเพียงหน้าเดียว
๓. รักษาความสะอาด ระมัดระวังเรื่องรูปแบบ และการสะกดคำ
๔. เว้นที่ว่างขอบกระดาษด้านละ ๑.๕ นิ้ว
๕. ควรทำสำเนาจดหมายเก็บไว้ทุกฉบับ


Download :
click ขวา save target as

หนังสือธุรกิจ.ppt

ตัวอย่าง จดหมายสมัครงาน.doc

ใบงานที่ 7 จดหมายธุรกิจ



หนังสือที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐาน

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายความหมายของหนังสือที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานได้
2. สามารถอธิบายหนังสือที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานประเภทต่าง ๆ ได้
3. บอกส่วนประกอบของหนังสือที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานได้
4. สามารถพิมพ์รูปแบบหนังสือที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานได้


หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ

คือ หนังสือที่ทางราชการทำขึ้นนอกจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

หรือหนังสือที่หน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือบุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการและส่วนราชการ

รับไว้เป็นหลักฐานของทางราชการ มี 4 ชนิด คือ หนังสือรับรองรายงาน การประชุม บันทึก และหนังสืออื่น


หนังสือรับรอง
คือ หนังสือที่ส่วนราชการออกให้เพื่อรับรองแก่ บุคคล นิติบุคคล หรือหน่วยงานเพื่อวัตถุประสงค์อย่างหนึ่ง

อย่างใดให้ปรากฏแก่บุคคลโดยทั่วไปไม่จำเพาะเจาะจง ใช้กระดาษตราครุฑ และให้จัดทำตามแบบที่ 10

ท้ายระเบียบ โดยกรอกรายละเอียดดังนี้

1. เลขที่ ให้ลงเลขที่ของหนังสือรับรองโดยเฉพาะ เริ่มตั้งแต่เลข ที่ 1 เรียงเป็นลำดับไปจนถึงสิ้นปีปฏิทิน

ทับเลขปีพุทธศักราชที่ออกหนังสือรับรอง หรือลงเลขที่ของหนังสือทั่วไปตามแบบหนังสือภายนอกอย่างหนึ่งอย่างใด

2.ส่วนราชการเจ้าของหนีงสือ ให้ลงชื่อส่วนราชการซึ่งเป็นเจ้าของหนังสือนั้นและจะลงสถานที่ตั้ง

ของส่วนราชการเจ้าของหนังสือด้วยก็ได้

3.ข้อความ ให้ลงข้อความขึ้นต้นว่า หนังสือฉบับนี้ให้ไว้เพื่อรับรองว่า แล้วต่อด้วยชื่อบุคคล นิติบุคคล

หรือหน่วยงานที่ทางราชการรับรองในกรณีเป็นบุคคลให้พิมพ์ชื่อเต็มโดยมีคำนำหน้านาม

ชื่อ นามสกุล ตำแหน่งหน้าที่ และสังกัดหน่วยงานที่ผู้นั้นทำงานอยู่อย่างชัดแจ้ง แล้วจึงลงช้อความที่รับรอง


4.ให้ไว้ ณ วันที่ ให้ลงตัวเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือน และตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออกหนังสือรับรอง

5.ลงชื่อ ให้ลงลายมือชื่อหัวหน้าส่วนราชการผู้ออกหนังสือหรือ ผู้ที่ได้รับมอบหมายและ

พิมพ์ชื่อเต็มของเจ้าของลายมือชื่อไว้ใตลายมือชื่อ

6.ตำแหน่ง ให้ลงตำแหน่งของผู้ลงลายมือชื่อในหนังสือ


7.รูปถ่ายแบะลายมือชื่อผู้ได้รับการรับรอง ในกรณีที่การรับรองเป็นเรื่องสำคัญที่ออกให้แก่บุคคล

ให้ติดรูปถ่ายของผู้ที่ได้รับการรับรอง ขนาด 4*6 เซนติเมตร หน้าตรง ไม่สวมหมวก ประทับตราชื่อส่วนราชการ

ที่ออกหนังสือบนขอบล่างด้านขวาของรูปถ่ายคาบต่อลงบนแผ่นกระดาษ และให้ผู้นั้นลงลายมือชื่อไว้ใต้รูปถ่าย

พร้อมทั้งพิมพ์ชื่อเต็มของเจ้าของลายมือชื่อไว้ใต้ลายมือชื่อด้วย

รายงานการประชุม

คือ การบันทึกความคิดเห็นของผู้มาประชุม ผู้เข้าร่วมประชุม และมติของที่ประชุมไว้เป็นหลักฐาน

ให้จัดทำตามแบบที่ 11 ท้ายระเบียบ โดยกรอกรายละเอียดดังนี้

1.รายงานการประชุมให้ลงชื่อคณะที่ประชุมหรือชื่อการประชุมนั้น

2.ครั้งที่ ให้ลงครั้งที่ประชุม

3.เมื่อ ให้ลงวันเดือนปีที่ประชุม

4.ณ ให้ลงสถานที่ที่ประชุม

5.ผู้มาประชุม ให้ลงชื่อและหรือตำแหน่งของผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะที่ประชุมซึ่งมาประชุม

ในกรณีที่มีผู้มาประชุมแทนให้ลงชื่อผู้มาประชุมแทน และลงว่ามาประชุมแทนผู้ใดหรือตำแหน่งใด

6.ผู้ไม่มาประขุม ให้ลงชื่อและหรือตำแหน่งของผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะที่ประชุม

ซึ่งมิได้มาประชุมพร้อมทั้งเหตุผล (ถ้ามี)

7.ผู้เข้าร่วมประชุม ให้ลงชื่อและหรือตำแหน่งของผู้ที่มิได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะที่ประชุมซึ่งได้เข้าร่วมประชุม (ถ้ามี)

8.เริ่มประชุมเวลา ให้ลงเวลาที่เริ่มประชุม

9.ข้อความ ให้บันทึกข้อความที่ประชุม โดยปกติเริ่มต้นด้วยประธานกล่าวเปิดประชุมและเรื่อง

ที่ประชุม กับมติหรือข้อสรุปของที่ประชุมในแต่ละเรื่องตามลำดับ

10.เลิกประชุมเวลา ให้ลงเวลาที่เลิกประชุม

11.ผู้จดรายงานการประชุม ให้ลงชื่อผู้จดรายงานการประชุมครั้งนั้น


บันทึก

คือ ข้อความซึ่งผู้ใต้บังคับบัญชาเสนอต่อผู้บังคับบัญชา หรือผู้บังคับบัญชาสั่งการแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา

หรือข้อความที่เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานระดับต่ำกว่าส่วนราชการระดับกรมติดต่อกันในการปฏิบัติราชการ

โดยปกติให้ใช้กระดาษบันทึกข้อความและให้มีหัวข้อดังต่อไปนี้

1.ชื่อตำแหน่งที่บันทึกถึง โดยใช้คำขึ้นต้นตามที่กำหนดไว้ในภาคผนวก 2

2.สาระสำคัญของเรื่อง ให้ลงใจความของเรื่องที่บันทึก ถ้ามีเอกสารประกอบก็ให้ระบุไว้ด้วย

3.ชื่อและตำแหน่ง ให้ลงลายมือชื่อและตำแหน่งของผู้บันทึก และในกรณีที่ไม่ใช้กระดาษบันทึกข้อความ

ให้ลงวันเดือนปีที่บันทึกไว้ด้วย

การบันทึกต่อเนื่อง โดยปกติให้ผู้บันทึกระบุคำขึ้นต้นใจความบันทึก และลงชื่อเช่นเดียวกับที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น

และให้ลงวัน เดือน ปี กำกับใต้ลายมือชื่อผู้บันทึก หากไม่มีความเห็นใดเพิ่มเติมให้ลงชื่อและวัน เดือน ปี กำกับเท่านั้น


หนังสืออื่น

คือ หนังสือ หรือ เอกสารอื่นใดที่เกิดขึ้น เนื่องจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ เพื่อเป็นหลักฐานในทางราชการ

ซึ่งรวมถึง ภาพถ่าย ฟิล์ม แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพด้วย หรือหนังสือของบุคคลภายนอก ที่ยื่นต่อเจ้าหน้าที่

และเจ้าหน้าที่ได้รับเข้าทะเบียนรับหนังสือของทางราชการแล้วมีรูปแบบตามที่กระทรวงทบวงกรมจะกำหนดขึ้นใช้

ตามความเหมาะสม เว้นแต่มีแบบตามกฏหมายเฉพาะเรื่องให้ทำตามแบบ เช่น โฉนด แผนที่ แบบ แผนผัง สัญญา

หลักฐานการสืบสวนและสอบสวน และคำร้อง เป็นต้น


Download :
click ขวา save target as

หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้น หรือรับไว้เป็นหลักฐาน.ppt

ตัวอย่าง หนังสือรับรอง.doc

ตัวอย่าง รายงานประชุม.doc

ตัวอย่าง บันทึก.doc

ตัวอย่าง หนังสือสัญญา อื่น.doc

ใบงานที่ 6 หนังสือที่ทำขึ้นไว้เป็นหลักฐาน.doc

test 2.ppt

หนังสือสั่งการ

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายความหมายของหนังสือสั่งการได้
2. สามารถอธิบายหนังสือสั่งการประเภทต่าง ๆ ได้
3. บอกส่วนประกอบของหนังสือสั่งการได้สามารถพิมพ์รูปแบบหนังสือสั่งการได้
หนังสือสั่งการ
หนังสือสั่งการ ให้ใช้ตามแบบที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ เว้นแต่จะมีกฏหมายกำหนดแบบไว้ โดยเฉพาะหนังสือสั่งการ
มี 3 ชนิด ได้แก่ คำสั่ง ระเบียบ และข้อบังคับ

คำสั่ง
คือ บรรดาข้อความที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการให้ปฏิบัติโดยชอบด้วยกฏหมาย ใช้กระดาษตราครุฑและให้จัดตามแบบที่ 4 รูปแบบคำสั่งท้ายระเบียบ โดยกรอกรายละเอียดดังนี้
1. คำสั่ง ให้ลงชื่อส่วนราชการหรือตำแหน่งของผู้มีอำนาจที่ออกคำสั่ง รูปแบบคำสั่ง
2. ที่ ให้ลงเลขที่ที่ออกคำสั่ง โดยเริ่มฉบับแรกจากเลข 1 เรียงเป็นลำดับไปจนสิ้นปีปฏิทิน ทับเลขปีพุทธศักราชที่ออกคำสั่ง
3. เรื่อง ให้ลงชื่อเรื่องที่ออกคำสั่ง
4. ข้อความ ให้อ้างเหตุที่ออกคำสั่ง และอ้างถึงอำนาจที่ให้ออกคำสั่ง (ถ้ามี) ไว้ด้วยแล้วจึงลงข้อความที่สั่งและวันใช้บังคับ
5. สั่ง ณ วันที่ ให้ลงตัวเลขของวันที่ ขื่อเต็มของเดือน และตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออกคำสั่ง
6. ลงชื่อ ให้ลงลายมือชื่อผู้ออกคำสั่ง และพิมพ์ชื่อเต็มของเจ้าของลายมือชื่อไว้ใต้ลายมือชื่อ
7. ตำแหน่ง ให้ลงตำแหน่งของผู้ออกคำสั่ง

ระเบียบ
คือ บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ได้วางไว้โดยจะอาศัยอำนาจของกฏหมายหรือไม่ก็ได้ เพื่อถือเป็นหลักปฏิบัติงานเป็นการประจำ ใช้กระดาษตราครุฑ และให้จัดทำตามแบบที่ 5 ท้ายระเบียบ โดยกรอกรายละเอียดดังนี้
1. ระเบียบ ให้ลงชื่อส่วนราชการที่ออกระเบียบ
2. ว่าด้วย ให้ลงชื่อของระเบียบ
3. ฉบับที่ ถ้าเป็นระเบียบที่กล่าวถึงเป็นครั้งแรกในเรื่องนั้น ไม่ต้องลงว่าเป็นฉบับที่เท่าใด แต่ถ้าเป็นระเบียบเรื่องเดียวกันที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมให้ลงเป็น ฉบับที่ 2 และที่ถัด ๆ ไปตามลำดับ
4. พ.ศ. ให้ลงตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออกระเบียบ
5. ข้อความ ให้อ้างเหตุผลโดยย่อ เพื่อแสดงถึงความมุ่งหมายที่ต้องออกระเบียบ และอ้างถึงกฏหมายที่ใหอำนาจออกระเบียบ (ถ้ามี)
6. ข้อ ให้เรียงข้อความที่จะใช้เป็นระเบียบเป็นข้อๆ โดยให้ข้อ 1 เป็นชื่อระเบียบข้อ 2 เป็นวันใช้บังคับกำหนดว่า ให้ใช้บังคับตั้งแต่เมื่อใดและข้อสุดท้าย เป็นข้อผู้รักษาการระเบียบใดถ้ามีมากข้อหรือหลายเรื่องจะแบ่งเป็นหมวดก็ได้ โดยให้ย้ายข้อผู้รักษาการไปเป็นข้อสุดท้ายก่อนที่จะขึ้นหมวด
7. ประกาศ ณ วันที่ ให้ลงตัวเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือน และตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออกระเบียบ
8. ลงชื่อ ให้ลงลายมือชื่อผู้ออกระเบียบ และพิมพ์ชื่อเต็มของเจ้าของลายมือชื่อไว้ใต้ลายมือชื่อ
9. ตำแหน่ง ให้ลงตำแหน่งของผู้ออกระเบียบ

ข้อบังคับ
คือ บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่กำหนดให้ใช้โดยอาศัยอำนาจของกฎหมายที่บัญญัติให้กระทำได้ ใช้กระดาษตราครุฑและให้จัดทำตามแบบที่ 6 ท้ายระเบียบ โดยกรอกรายละเอียดดังนี้
1. ข้อบังคับ ให้ลงชื่อส่วนราชการที่ออกข้อบังคับ
2. ว่าด้วย ให้ลงชื่อของข้อบังคับ
3. ฉบับที่ถ้าเป็นข้อบังคับที่กล่าวถึงเป็นครั้งแรกในเรื่องนั้น ไม่ต้องลงว่าเป็นฉบับที่เท่าใด แต่ถ้าเป็นข้อบังคับ เรื่องเดียวกันที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมให้ลงเป็นฉบับที่ 2 และที่ถัด ๆ ไปตามลำดับ
4. พ.ศ. ให้ลงตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออกข้อบังคับ 18.5 ข้อความ ให้อ้างเหตุผลโดยย่อเพื่อแสดงถึงความมุ่งหมายที่ต้องออกข้อบังคับและอ้างถึงกฎหมาย ที่ให้อำนาจออกข้อบังคับ
6. ข้อ ให้เรียงข้อความที่จะใช้บังคับเป็นข้อ ๆ โดยให้ ข้อ 1 เป็นชื่อข้อบังคับ ข้อ 2 เป็นวันใช้บังคับกำหนดว่า ให้ใช้บังคับตั้งแต่เมื่อใด้และข้อสุดท้ายเป็นข้อผู้รักษาการข้อบังคับใดถ้ามีมากข้อหรือหลายเรื่องจะแบ่งเป็นหมวดก็ได้ ้โดยให้ย้ายข้อผู้รักษาการไปเป็นข้อสุดท้ายก่อนที่จะขึ้นหมวด 1
7. ประกาศ ณ วันที่ ให้ลงตัวเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือน และตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออกข้อบังคับ
8. ลงชื่อ ให้ลงลายมือชื่อผู้ออกข้อบังคับ และพิมพ์ชื่อเต็มของเจ้าของลายมือชื่อไว้ใต้ลายมือชื่อ
9. ตำแหน่ง ให้ลงตำแหน่งของผู้ออกข้อบังคับ

Download :
click ขวา save target as
ตัวอย่าง ระเบียบ3.pdf
ตัวอย่าง ข้อบังคับ.doc

หนังสือประทับตราแทนการลงชื่อ

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายความหมายของหนังสือประทับตราแทนการลงชื่อได้
2. บอกส่วนประกอบของหนังสือประทับตราแทนการลงชื่อได้
3. สามารถสร้างตราประทับเพื่อนำไปใช้กับหนังสือประทับตราแทนการลงชื่อได้

4. สามารถพิมพ์รูปแบบหนังสือประทับตราแทนการลงชื่อได้

หนังสือประทับตราแทนการลงชื่อ
คือ หนังสือที่ใช้ตราประทับแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการ เป็นหนังสือที่ใช้ทั้งภายในและภายนอก โดยข้าราชการตำแหน่งหัวหน้ากอง หรือ ผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้รับผิดชอบ ลงชื่อย่อกำกับตราประทับหนังสือแทนการลงชื่อ ใช้ในกรณี
1. การส่งสิ่งของ เอกสาร หรือ บรรณสารระหว่างส่วนราชการ
2. การตอบรับทราบที่ไม่เกี่ยวกับราชการสำคัญ หรือการเงิน
3. การแจ้งผลงานที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบ
4. การเตือนเรื่องที่ค้าง
หนังสือประทับตราแทนการลงชื่อ ใช้กระดาษครุฑ กำหนดหัวข้อ ดังนี้
1. ที่ ใช้ลงอักษรและเลขประจำกองเจ้าของเรื่อง ทับเลขทะเบียนหนังสือ (ออก)
2. ถึง ใช้ลงชื่อส่วนราชการที่หนังสือนั้นมีถึง
3. ข้อความ ใจความสำคัญให้สั้น ชัดเจนและเข้าใจง่าย
4. ชื่อส่วนราชการที่ส่งหนังสือออก เขียนไว้ใต้ข้อความ
5. วันที่ เดือน พ.ศ. ใช้ลงวันที่ เดือน พ.ศ. ที่ออกหนังสือ
6. ตราชื่อส่วนราชการ ใช้ตราชื่อส่วนราชการประทับด้วยหมึกสีแดงทับ วันที่ เดือน พ.ศ. แล้ว ลงชื่อย่อกำกับ (ลงชื่อย่อของผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบให้ลงชื่อกำกับตรา)
7. ส่วนราชการเจ้าของเรื่อง ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่องและพิมพ์ไว้ในระดับต่ำลงมาอีกบรรทัดหนึ่งจากบรรทัดสุดท้ายของหนังสือทางริมกระดาษด้านซ้าย

Download :
click ขวา save target as

หนังสือประทับตราแทนการลงชื่อ.ppt

ตัวอย่างหนังสือประทับตราแทนการลงชื่อ.pdf

หนังสือราชการภายใน

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายความหมายของหนังสือราชการภายในได้
2. อธิบายส่วนประกอบของหนังสือราชการภายในได้

3. สามารถพิมพ์รูปแบบหนังสือราชการภายในได้

การพิมพ์หนังสือราชการภายใน
หนังสือราชการภายใน คือ หนังสือที่ติดต่อภายในกระทรวง ทบวง กรม หรือจังหวัดเดียวกัน ใช้กระดาษบันทึกข้อความ (ใช้แบบมีเส้นบรรทัดหรือแบบไม่มีเส้นบรรทัด) โดยมี รายละเอียดดังนี้
1. ส่วนราชการ ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของหนังสือหรือหน่วยงานที่ออกหนังสือ โดยมี รายละเอียดพอสมควร เช่น ฝ่ายส่งเสริมการศึกษา เป็นต้น
2. ที่ ให้ลงเลขรหัสตัวพยัญชนะและเลขประจำของเจ้าของเรื่องทับเลขทะเบียนหนังสือส่ง เช่น ที่ ศธ 0908.03/213
3. วัน เดือน ปี ให้ลงตัวเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือน และตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออกหนังสือ เช่น 20 มีนาคม 2547 การพิมพ์วัน เดือน ปี ของหนังสือราชการภายในจะพิมพ์เป็นตัวย่อได้ เช่น 20 มี.ค. 47
4. เรื่อง ให้ลงชื่อเรื่องย่อที่เป็นใจความสั้นที่สุดของหนังสือฉบับนั้น ในกรณีที่เป็นหนังสือต่อเนื่องโดยปกติให้ลงเรื่องของหนังสือฉบับเดิม
5. คำขึ้นต้น ใช้ตามฐานะของผู้รับหนังสือ นิยมใช้คำว่า “เรียน”
6. ข้อความ ให้ลงสาระสำคัญของเรื่องให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย หากมีความประสงค์หลายประการให้แยกเป็นข้อ ๆ ในกรณีที่มีการอ้างถึงหนังสือที่เคยมีติดต่อกันหรือมีสิ่งที่ส่งมาด้วยให้ระบุไว้ในข้อนี้
7. ลงชื่อและตำแหน่ง ให้เว้น 2 บรรทัดจากบรรทัดสุดท้ายของข้อความ เริ่มต้นพิมพ์จาก กึ่งกลางหน้ากระดาษ พิมพ์ชื่อและนามสกุลไว้ในวงเล็บ สำหรับตำแหน่งขึ้นบรรทัดใหม่ 1 ระยะบรรทัดและพิมพ์วางศูนย์กับชื่อและนามสกุลที่อยู่ในวงเล็บนั้น



Download :
หนังสือราชการภายใน.ppt

ตัวอย่างขออนุญาตให้สมัครสอบ.doc

ใบงานที่ 2 หนังสือราชการภายใน.doc

หนังสือราชการภายนอก

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. สามารถพิมพ์คำขึ้นต้น คำสรรพนาม คำลงท้ายในหนังสือราชการได้
2. สามารถพิมพ์คำที่ใช้จ่าหน้าซองหนังสือราชการได้
3. อธิบายประเภทหนังสือราชการได้



หนังสือราชการภายนอก
คือ หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีโดยใช้กระดาษตราครุฑ เป็นหนังสือติดต่อระหว่างส่วนราชการ หรือส่วนราชการมีถึงหน่วยงานอื่น ซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่มีถึงบุคคลภายนอก โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. ที่ ให้ลงเลขรหัสด้วยพยัญชนะและเลขประจำของเจ้าของเรื่อง
2. ส่วนราชการเจ้าของหนังสือ ให้ลงชื่อส่วนราชการ สถานที่ราชการ หรือคณะกรรมการซึ่งเป็นเจ้าของหนังสือนั้น และโดยปกติให้ลงที่ตั้งไว้ด้วย
3. วัน เดือน ปี ให้ลงเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือน และตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออกหนังสือ
4. เรื่อง ให้ลงเรื่องย่อที่เป็นใจความสั้นที่สุดของหนังสือฉบับนั้นในกรณีที่เป็นหนังสือต่อเนื่อง โดยปกติให้ลงเรื่องของหนังสือฉบับเดิม
5. คำขึ้นต้น ให้ใช้คำขึ้นต้นตามฐานะของผู้รับหนังสือ สรรพนาม และคำลงท้าย แล้วลงตำแหน่งของผู้ที่มีหนังสือนั้นมีถึง หรือชื่อบุคคลในกรณีที่มีถึงตัวบุคคลไม่เกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่
6. อ้างถึง (ถ้ามี) ให้อ้างถึงหนังสือที่เคยมีต่อกันเฉพาะหนังสือที่ส่วนราชการผู้รับหนังสือได้รับมาก่อนแล้ว การอ้างถึง ให้อ้างถึงหนังสือฉบับสุดท้ายที่ติดต่อกันเพียงฉบับเดียวเว้นแต่มีเรื่องอื่นที่เป็นสาระสำคัญต้องนำมาพิจารณา จึงอ้างหนังสือฉบับอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องนั้นโดยเฉพาะให้ทราบด้วย
7. สิ่งที่ส่งมาด้วย (ถ้ามี) ให้ลงชื่อสิ่งของ เอกสาร หรือบรรณสารที่ส่งไปพร้อมกับหนังสือนั้น ในกรณีที่ไม่สามารถส่งไปในซองเดียวกันได้ให้แจ้งด้วยว่าส่งไปโดยทางใด
8. ข้อความ ให้ลงสาระสำคัญของเรื่องให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย หากมีความประสงค์หลายประการให้แยกเป็นข้อ ๆ
9. คำลงท้าย ให้ใช้คำลงท้ายตามฐานะของผู้รับหนังสือ
10. ลงชื่อ ให้ลงลายมือชื่อเจ้าของหนังสือ และให้พิมพ์ชื่อเต็มของเจ้าของลายมือชื่อไว้ใต้ลายมือชื่อ
11. ตำแหน่ง ให้ลงตำแหน่งของเจ้าของหนังสือ
12. ส่วนราชการเจ้าของเรื่อง ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่อง หรือหน่วยงานที่ออกหนังสือ ถ้าส่วนราชการที่ออกหนังสืออยู่ในระดับกระทรวงหรือทบวง ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่องทั้งระดับกรมและกอง ถ้าส่วนราชการที่ออกหนังสืออยู่ในระดับกรมลงมาให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่องเพียงระดับกองหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ
13. โทร ให้ลงหมายเลขโทรศัพท์ของส่วนราชการเจ้าของเรื่อง หรือหน่วยงานที่ออกหนังสือและหมายเลขภายในตู้สาขา (ถ้ามี) ไว้ด้วย
14. สำเนาส่ง (ถ้ามี) ในกรณีที่ผู้ส่งจัดทำสำเนาส่งไปให้ส่วนราชการหรือบุคคลอื่นทราบและประสงค์จะให้ผู้รับทราบว่าได้มีสำเนาส่งไปให้ผู้ใดแล้ว ให้พิมพ์ชื่อเต็มหรือชื่อย่อของส่วนราชการหรือชื่อบุคคลที่ส่งสำเนาไปให้ เพื่อให้เป็นที่เข้าใจระหว่างผู้ส่งและผู้รับ ถ้าหากมีรายชื่อที่ส่งมากให้พิมพ์ว่าส่งไปตามรายชื่อที่แนบและแนบรายชื่อไปด้วย
ตัวอย่างหนังสือราชการภายนอก


หลักการพิมพ์หนังสือราชการภายนอกด้วยคอมพิวเตอร์
1. พิมพ์ด้วยรูปแบบอักษร Angsana New ขนาดตัวอักษร 16
2. ใช้กระดาษตราครุฑ หรือกรณีที่ใช้กระดาษที่ไม่มีครุฑ จะใช้รูปครุฑที่มีขนาดความสูง 3 ซม. วางรูปภาพที่กึ่งกลางหน้ากระดาษ โดยให้ความเท้าครุฑ อย่างห่างจากขอบกระดาษด้านบน 5 ซม.
3. การตั้งค่าหน้ากระดาษ ด้านซ้าย กำหนดระยะห่างจากขอบกระดาษเท่ากับ 3 ซม. และด้านขวาเท่ากับ 2 ซม.
4. เลขที่หนังสือ พิมพ์ห่างจากขอบกระดาษด้านบน 5 บรรทัด หรือที่ระดับเท้าครุฑ
พิมพ์คำว่า “ที่” เว้น 2 เคาะวรรค พิมพ์รหัสพยัญชนะ และเลขที่ส่วนราชการที่ออกหนังสือ
4.1 ถ้าเป็นหนังสือที่มีชั้นความเร็ว คือด่วน ด่วนมาก ด่วนที่สุด ให้ประทับตรา หรือพิมพ์ชั้นความเร็ว เหนือเลขที่ของหนังสือ
4.2 ถ้าเป็นหนังสือที่มีชั้นความลับ คือลับ ลับมาก ลับที่สุด ให้ประทับตรา หรือพิมพ์ชั้นความลับ เหนือไว้ตรงกึ่งกลางหน้ากระดาษเหนือครุฑ และประที่ตรงกลางหน้ากระดาษบรรทัดล่างสุดให้ตรงแนวเดียวกับข้างบน
5. ชื่อส่วนราชการที่ออกหนังสือ ให้พิมพ์อยู่ในระดับเดียวกับเลขที่หนังสือ โดยใช้ตัวอักษรตัวสุดท้ายอยู่ชิดกั้นระยะด้านขวา (ใช้ระยะบรรทัดปกติ 1 Enter)
6. Enter ด้วยระยะบรรทัดที่มีขนาดตัวอักษร 8 1 บรรทัด
7. Enter ด้วยระยะบรรทัดปกติที่มีขนาดตัวอักษร 16 1 บรรทัด พิมพ์วันที่ ที่หางครุฑ เว้น 2 เคาะวรรค พิมพ์ชื่อเต็มของเดือน เว้น 2 เคาะวรรค พิมพ์เลขของพุทธศักราช เช่น “10 มีนาคม 2551”
8. Enter ด้วยระยะบรรทัดที่มีขนาดตัวอักษร 9 1 บรรทัด
9. Enter ด้วยระยะบรรทัดปกติที่มีขนาดตัวอักษร 16 1 บรรทัด พิมพ์ คำว่า “เรื่อง” เว้น 4 เคาะวรรค พิมพ์ชื่อของหนังสือ
10. Enter ด้วยระยะบรรทัดที่มีขนาดตัวอักษร 8 1 บรรทัด
11. Enter ด้วยระยะบรรทัดปกติที่มีขนาดตัวอักษร 16 1 บรรทัด พิมพ์ คำขึ้นต้นของผู้รับหนังสือ เว้น 4 เคาะวรรค พิมพ์ฐานะของผู้รับหนังสือ
12. Enter ด้วยระยะบรรทัดที่มีขนาดตัวอักษร 8 1 บรรทัด
13. Enter ด้วยระยะบรรทัดปกติที่มีขนาดตัวอักษร 16 1 บรรทัด พิมพ์ คำว่า “อ้างถึง” (ถ้ามี) เว้น 4 เคาะวรรค พิมพ์อ้างถึงหนังสือที่เคยมีการติดต่อกันมาก่อน ระบุส่วนราชการของหนังสือ เลขที่หนังสือพร้อม วัน เดอน ปี ของหนังสือฉบับนั้น
14. Enter ด้วยระยะบรรทัดที่มีขนาดตัวอักษร 8 1 บรรทัด
15. Enter ด้วยระยะบรรทัดปกติที่มีขนาดตัวอักษร 16 1 บรรทัด พิมพ์ คำว่า “สิ่งที่ส่งมาด้วย” (ถ้ามี) เว้น 4 เคาะวรรค พิมพ์ชื่อสิ่งของ เอกสารที่ส่งไปพร้อมกับหนังสือราชการฉบับนี้ หากมีหลายรายการให้แยกเป็นข้อ ๆ
16. Enter ด้วยระยะบรรทัดที่มีขนาดตัวอักษร 9 1 บรรทัด
17. Enter ด้วยระยะบรรทัดปกติที่มีขนาดตัวอักษร 16 1 บรรทัด เว้น 20 เคาะวรรค จากกั้นระยะทางด้านซ้าย พิมพ์ข้อความ ในส่วนของข้อความ โดยทั่วไปจะประกอบด้วย 3 ย่อหน้า คือ ย่อหน้าเหตุ ย่อหน้าความประสงค์ และย่อหน้าสรุป ระหว่างย่อหน้าเหตุ และความประประสงค์ จะใช้ระยะบรรทัดปกติ ส่วนระหว่างย่อหน้าความประสงค์ กับย่อหน้าสรุป จะมีบรรทัดว่างที่มีขนาดตัวอักษร 8 จำนวน 1 บรรทัด ทั้ง 3 ย่อหน้าจะเว้น 20 เคาะวรรค จากกั้นระยะทางด้านซ้ายเช่นเดียวกัน
18. Enter ด้วยระยะบรรทัดที่มีขนาดตัวอักษร 10 1 บรรทัด
19. Enter ด้วยระยะบรรทัดปกติที่มีขนาดตัวอักษร 16 1 บรรทัด พิมพ์คำลงท้าย โดยให้ตรงกับวันที่ ( หรือตรงหางครุฑ)
20. Enter ด้วยระยะบรรทัดปกติที่มีขนาดตัวอักษร 16 3 บรรทัด พิมพ์ชื่อและนามสกุลเต็มของผู้ลงนาม โดยจัดกึ่งกลางกับคำลงท้าย
21. Enter ด้วยระยะบรรทัดปกติที่มีขนาดตัวอักษร 16 1 บรรทัด พิมพ์ตำแหน่งของผู้ลงนาม โดยจัดกึ่งกลางกับชื่อและนามสกุลเต็มของผู้ลงนาม
22. Enter ด้วยระยะบรรทัดที่มีขนาดตัวอักษร 8 1 บรรทัด
23. Enter ด้วยระยะบรรทัดปกติที่มีขนาดตัวอักษร 16 1 บรรทัด พิมพ์ชื่อส่วนราชการเจ้าของหนังสือ ชิดขอบกระดาษด้านซ้าย
24. Enter ด้วยระยะบรรทัดปกติที่มีขนาดตัวอักษร 16 1 บรรทัด พิมพ์หมายเลขโทรศัพท์ ชิดขอบกระดาษด้านซ้าย
25. Enter ด้วยระยะบรรทัดปกติที่มีขนาดตัวอักษร 16 1 บรรทัด พิมพ์หมายเลขโทรสาร ชิดขอบกระดาษด้านซ้ายEnter ด้วยระยะบรรทัดปกติที่มีขนาดตัวอักษร 16 1 บรรทัด พิมพ์สำเนาส่ง (ถ้ามี) ชิดขอบกระดาษด้านซ้าย



Download :
หนังสือราชการภายนอก.ppt
ใบงานที่ 1 หนังสือราชการภายนอก.doc
ตัวอย่างหนังสือขอความอนุเคราะห์วิทยากรบรรยาย.doc
click ขวา save target as

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหนังสือราชการ

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายความหมายของหนังสือราชการได้
2. เข้าใจและบอกรหัสประจำกระทรวง ทบวง และหน่วยราชการอิสระได้
3. เข้าใจและบอกรหัสประจำจังหวัดได้
จดหมายราชการหรือหนังสือราชการ
ความหมายของหนังสือราชการหนังสือราชการ หมายถึง เอกสารที่ใช้เป็นหลักฐานทางราชการ
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหนังสือราชการ
1. การใช้คำขึ้นต้น สรรพนาม คำลงท้าย มีธรรมเนียมควรใช้ดังนี้ คำขึ้นต้น สรรพนาม คำลงท้าย ในหนังสือราชการและคำที่ใช้ในการจ่าหน้าซอง


การใช้ลักษณะพิเศษของหนังสือราชการ
ลักษณะพิเศษของหนังสือราชการมี 2 ลักษณะ ได้แก่
1. ลักษณะลับ คือ หนังสือราชการที่ต้องสงวนไว้เป็นความลับ ลักษณะลับแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1.1 ลับที่สุดหรือลับเฉพาะ คือหนังสือราชการที่เฉพาะคนมีชื่อหรือได้รับการมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้นที่เปิดอ่านได้
1.2 ปกปิดหรือลับ คือหนังสือราชการที่เฉพาะเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติที่เปิดอ่านได้

2. ลักษณะด่วน คือหนังสือต้องปฏิบัติให้เร็วกว่าปกติ เป็นหนังสือที่ต้องจัดส่งและดำเนินการทางสารบรรณ ด้วยความรวดเร็วเป็นพิเศษ แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ
2.1 ด่วนที่สุด ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติในทันทีที่รับหนังสือนั้น
2.2 ด่วนมาก ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติโดยเร็ว
2.3 ด่วน ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติเร็วกว่าปกติเท่าที่จะทำได้

หมายเหตุ : ถ้าต้องการให้หนังสือส่งถึงผู้รับในเวลาที่กำหนดให้ระบุคำว่า ด่วนภายในและลงวัน เดือน ปี หน้าซอง

3. การใช้ถ้อยคำเฉพาะในหนังสือราชการ
ในหนังสือราชการมีวิธีเขียนดังนี้
3.1 การเกริ่นในย่อหน้าแรก ถ้าเป็นเรื่องแจ้งให้ทราบ หรือเป็นเรื่องที่มิได้กล่าวพาดพิงถึงจดหมายฉบับใด หรือข้อความใด ใช้คำว่า ด้วย โดยที่ เนื่องด้วย หรือเนื่องจาก ถ้าเป็นการอ้างเรื่องที่เคยติดต่อมาก่อนหน้านี้ หรือกล่าวพาดพิงถึงข้อความใด หรือจดหมายฉบับใด ใช้คำว่า ตาม ตามที่ หรือ อนุสนธิ และท้ายข้อความหรือท้ายย่อหน้านั้น ต้องมีคำว่า "นั้น"
3.2 การสรุปในย่อหน้าสุดท้าย โดยทั่วไปใช้ "จึง" แสดงให้ทราบถึงความประสงค์ของผู้เขียน เช่น จึงเรียนมาเพื่อทราบ จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา จึงเรียนมาขอความอนุเคราะห์

4. การใช้ "ที่" ในหนังสือราชการ
"ที่" เป็นเสมือนเลขทะเบียนของหนังสือราชการ ประกอบด้วยรหัสตัวพยัญชนะสองตัวและต่อด้วยเลขประจำของเรื่อง โดย
4.1 รหัสพยัญชนะสองตัวแรก เป็นรหัสตัวพยัญชนะประจำกระทรวงทบวง และส่วนราชการที่ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี หรือจังหวัด
4.2 เลขประจำของส่วนราชการเจ้าของเรื่อง ประกอบด้วยตัวเลข 4 ตัว หน้า ทับ โดยแบ่งเป็น
4.2.1 ตัวเลขสองตัวแรก สำหรับกระทรวง หรือทบวง หมายถึงส่วนราชการระดับ กรม
4.2.2 ตัวเลขสองตัวหลัง หมายถึง กอง ประเภทของหนังสือราชการ

หนังสือราชการ แบ่งออก เป็น 6 ประเภท ได้แก่
1. หนังสือราชการภายนอก
2. หนังสือราชการภายใน
3. หนังสือประทับตราแทนการลงชื่อ
4. หนังสือสั่งการ
5. หนังสือประชาสัมพันธ์
6. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้น หรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ

1. หนังสือราชการภายนอก มีลักษณะดังนี้
1.1 หนังสือที่มีไป - มา ระหว่างส่วนราชการที่ต่างกระทรวง ทบวง กรม หรือ จังหวัด
1.2 หนังสือที่ติดต่อกันอย่างเป็นพิธีการ กล่าวคือ แม้จะเป็นการติดต่อกันระหว่างหน่วยงานในสังกัด ทบวง กรม เดียวกัน สามารถใช้แบบหนังสือราชการภายนอกได้เช่นกัน
1.3 หนังสือที่ส่วนราชการติดต่อกับหน่วยงานเอกชน หรือบุคคลภายนอก
2. หนังสือราชการภายใน มีลักษณะดังนี้
2.1 หนังสือที่ติดต่อกันภายในกระทรวง ทบวง กรม หรือจังหวัดเดียวกัน เป็นแบบพิธีการน้อยกว่าหนังสือภายนอก ใช้กระดาษบันทึกข้อความของราชการ
2.2 หากเป็นหนังสือที่เป็นสาระสำคัญ ๆ อาจใช้หนังสือภายนอกติดต่อกันได้ แม้ว่าจะเป็นการติดต่อภายในกระทรวง ทบวง กรม เดียวกัน
3. หนังสือประทับตราแทนการลงชื่อ
หนังสือประทับตราใช้สำหรับติดต่อกันระหว่างส่วนราชการด้วยกัน และระหว่างส่วนราชการกับบุคคลภายนอก ในกรณีต่าง ๆ ดังนี้
3.1 การขอรายละเอียดเพิ่มเติม
3.2 การส่งสำเนาหนังสือ สิ่งของ เอกสารต่าง ๆ
3.3 การตอบรับทราบที่ไม่เกี่ยวกับราชการสำคัญหรือการเงิน
3.4 การแจ้งผลงานที่ดำเนินการไปแล้วให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบ
3.5 การเตือนเรื่องที่ค้าง
3.6 การทำเป็นคำสั่งตามเรื่องที่หัวหน้าระดับกรมขึ้นไปกำหนดขึ้น

4. หนังสือสั่งการ
แบ่งเป็น 3 ประเภทได้แก่
4.1 คำสั่ง คือ ข้อความที่ราชการให้ปฏิบัติโดยชอบด้วยกฎหมาย
4.2 ระเบียบ คือ ข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่กำหนดขึ้นเพื่อเป็นหลักปฏิบัติงานเป็นงานประจำ โดยจะอาศัยอำนาจของกฎหมายหรือไม่ก็ได้
4.3 ข้อบังคับ คือ ข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่กำหนดขึ้น โดยอาศัยอำนาจกฎหมายที่บัญญัติให้ กระทำได้

5. หนังสือประชาสัมพันธ์
แบ่งเป็น 3 ประเภทได้แก่
5.1 ประกาศ คือ ข้อความที่ราชการประกาศ ชี้แจง หรือแนะแนวทางปฏิบัติแก่ประชาชนทั่วไป
5.2 แถลงการณ์ คือ ข้อความที่ราชการแถลงแก่ประชาชนเพื่อให้เข้าใจอย่างถูกต้องชัดเจนในกิจกรรมต่าง ๆ ของราชการ รวมทั้งเหตุการณ์และกรณีต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด
5.3 ข่าว คือ ข้อความที่ราชการเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปได้ทราบ
6. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ
แบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่
6.1 หนังสือรับรอง
6.2 รายงานการประชุม
6.3 บันทึก
6.4 หนังสืออื่น เช่น สัญญา คำร้อง แผนที่ ฯลฯ และแบบไม่เฉพาะ เช่น ภาพถ่าย ฟิล์ม วีดิทัศน์

จุดประสงค์การเรียนรู้รายวิชาโปรแกรมประมวลผลคำประยุกต์

จุดประสงค์รายวิชา
1. สามารถประยุกต์ใช้โปรแกรมประมวลผลคำกับงานต่างๆ
2. ตระหนักถึงการใช้โปรแกรมประมวลผลคำประยุกต์
3. มีกิจนิสัยและส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดี ในการใช้คอมพิวเตอร์

มาตรฐานรายวิชา
1. บอกรูปแบบของเอกสารประเภทต่างๆ
2. ประยุกต์ใช้โปรแกรมประมวลผลคำในการผลิตเอกสารประเภทต่างๆ

คำอธิบายรายวิชา
ปฏิบัติเกี่ยวกับรูปแบบหนังสือราชการ บันทึกข้อความ จดหมายธุรกิจ จดหมายเวียน ปฏิบัติการพิมพ์เอกสารตามรูปแบบ การพิมพ์ตาราง การพิมพ์นามบัตร แผ่นพับ แผ่นโฆษณา ใบวุฒิบัตร การจ่าหน้าซอง บัตรอวยพร แบบฟอร์ม

กิจกรรมการเรียนการสอน
1. ศึกษาจากใบความรู้ประกอบการเรียน
2. ปฏิบัติตามใบงานประกอบการเรียน
3. ทำแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน

อุปกรณ์และสื่อการเรียน-การสอน
1. บรรยายประกอบตัวโปรแกรม Microsoft Word
2. ใบงาน
3. คอมพิวเตอร์

การวัดและประเมินผลการศึกษา
1. คะแนนรวม 100 คะแนน
2. คะแนนเก็บ 70 คะแนน
เวลาเรียน 10 คะแนน (สายหรือขาดหักครั้งละ 1 คะแนน และขาดได้ไม่เกิน 3 ครั้ง)
พฤติกรรม 10 คะแนน
ปฏิบัติ 30 คะแนน
สอบเก็บคะแนน 10 คะแนน
แบบฝึกหัด 10 คะแนน
3. คะแนนสอบ 30 คะแนน
3.1 สอบกลางภาค 15 คะแนน
3.2 สอบปลายภาค 15 คะแนน

เกณฑ์การตัดเกรด
คะแนน 0-49 เกรด 0
คะแนน 50-54 เกรด 1
คะแนน 55-59 เกรด 1.5
คะแนน 60-64 เกรด 2
คะแนน 65-69 เกรด 2.5
คะแนน 70-74 เกรด 3
คะแนน 75-79 เกรด 3.5
คะแนน 80-100 เกรด 4

เอกสาร ตำรา หรือหนังสือที่ใช้ประกอบการเรียน
- หนังสือ “โปรแกรมประมวลผลคำประยุกต์”, ผู้แต่ง นรีรัตน์ นิยมไทย และ พรรณี เครือบุญราช โดย บริษัท สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ จำกัด

- หนังสือ “โปรแกรมประมวลผลคำประยุกต์ (Microsoft Word XP)”, ผู้แต่ง สมเจตต์ แป๊ะประภา และคณะ โดย จุฬาบุ๊ค